วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

การเต้นประเภท B-BOY

การเต้นB-BOY



คำว่า B-Boying นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาของชนชาติแอฟริกัน คือ คำว่า Boioing หมายความว่า กระโด,โลดเต้น และถูกใช้ในแถบ Bronx River ในการเรียก รูปแบบการเต้นเบรกกิ้งของกลุ่มชาวบีบอย ตัว B ในคำว่า Bgirl : Bboy นั้นย่อมาจาก Break-Girl : Break-Boy (บางทีก็หมายถึง Boogie หรือ Bronx) B-Boying นั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ เบรกกิ้ง  หรือ เบรคแด๊นซ์ (อันหลังได้รับการบัญญัติโดยสื่อมวลชน)
Breaking นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Rocking มาก่อน เป็นการสะท้อนของ อิทธิพลจากชนชาวแอฟริกัน อเมริกัน หรือวัฒนธรรมชาวลาติน(เปอโตริกัน)ซึ่งมาพร้อมกับการอพยพ และ ปักฐานที่กรุงนิวยอร์กในช่วงปลายยุค60นั่นเอง "เบรกกิ้ง" เป็นการเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งท่วงท่าจากกีฬายิมนาสติก รวมถึงจากศิลปะการเคลื่อนไหวของโลกตะวันออกอีกด้วย เป็นที่คาดคิดกันว่า เบรคกิ้ง หรือเบรคแด๊นซ์นั้นมีรากฐานมาจาก คาโปเอร่า หรือ Capoeira คำว่า เบรค (Break)- -นั้นเป็นช่วงของจังหวะดนตรีที่ดุดันและเร้าใจ ในช่วงจังหวะนี้เหล่านักเต้นจะแสดงอารมณ์ด้วยท่าเต้นที่จะดึงดูดสายตาที่สุดเลยทีเดียวเรียกว่ามีอะไรก็เอามาโชว์ให้หมด Kool DJ Herc เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในการขยายช่วงจังหวะนี้ให้สนุกมากขึ้นด้วยเทิร์นเทเบิ้ลถึงสองตัว โดยเล่นแผ่นเสียงพร้อมกันทั้ง2เครื่องและใช้แผ่นเสียงเพลงเดียวกัน ใช้เทคนิคถูแผ่นต่างๆกันไปซึ่งนักเต้นสามารถจะถ่ายทอดท่าเต้นได้นากว่าเดิม ที่มักจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที ในระยะแรกๆนั้นการเต้นจะเป็นท่า upright ที่ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ top rocking เป็นท่ายืนเต้น ซึ่งมีอิทธิพลมาจาก Brooklyn uprocking, การเต้นแท็ป , lindy hop , ซัลซ่า, ท่าเต้นของ Afro Cuban, ชนพื้นเมืองแอฟริกัน และชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน และก็ยังมีท่าท๊อปร็อคแบบ Charleston ที่เรียกว่า "Charlie Rock" อิทธิพลอีกอย่างนั้นมาจาก James Brown กับผลงานเพลงยอดฮิต Popcorn (1969) และ Get on the Good Foot (1972) จากท่าเต้นที่เต็มไปด้วยพลังและรูปแบบที่โลดโผนสนุกสนาน ผู้คนจึงเริ่มที่จะเต้นในแบบ GoodFoot ในขณะ ที่การต่อสู้กันด้วยลีลาท่าเต้นเริ่มจะกลายมาเป็นประเพณี
การเต้น Rocking หรือ Breaking นั้นก็เริ่มจะแทรกซึมเข้ามาสู่วัฒนธรรมฮิปฮอป (ปะทะกันด้วยความสร้างสรรค์ไม่ใช่ด้วยอาวุธ) และมันเริ่มพัฒนาท่าเต้นที่เริ่มหลากหลายขึ้น ทั้งการย่ำเท้า การสับขา การลากเท้า และท่วงท่าที่จะใช้ปะทะกัน คือมีดีอะไรก็นำมาโชว์และเป็นที่มาของท่า footwork (floor rocking) และ freezes Floor rocking มีอิธิพลมาจากภาพยนตร์แนวต่อสู้ ในช่วงปลายยุค 70, การเต้นแท็ป (  ฟุตเวิร์กแบบชาวรัสเซีย,กาตบ, การกวาดตัวเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว, ท่าล้อเกวียน ) และท่าอื่นๆ ซึ่ง Floor rocking ได้เข้ามาเป็นท่า เต้นหลักเพิ่มขึ้น จาก toprocking ในช่วงการเต้นขึ้นลงสู่พื้น เรียกว่า การ godown หรือ การ drop ยิ่งทำได้ลื่นไหลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี  Freezes นั้นมักใช้ในเป็นท่าจบ ซึ่งมักจะใช้เป็นท่าล้อเลียนหรือท้าทายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ต่อสู้ ท่าที่ยอดฮิตก็คือ chairfreeze และ baby freeze ท่า chair freeze นั้นกลายเป็นท่าพื้นฐานของหลายๆท่าเพราะว่าระดับความยากง่ายของท่าที่ต้องใช้ความสามารถพอตัว คือ การใช้มือ แขน ข้อศอกในการพยุงตัวในขณะที่เคลื่อนไหวขาและสะโพก เป้าหมายหลักในการปะทะ หรือ Breaking Battle นั้นก็คือ เอา ชนะคู่ต่อสู้ด้วยท่าที่ยากกว่า สร้างสรรค์กว่า และรวดเร็วกว่าในทั้งจังหวะ และการFreezesซึ่งก็เป็นสิ่งที่ Breaking crews หรือกลุ่มของนักเต้นนั้น เข้ามารวมตัวกันและช่วยกันฝึกฝนและคิดค้นท่าใหม่ๆ เพื่อเอาชนะกลุ่มอื่นๆกลุ่มบีบอยที่เป็นที่รู้จักในช่วงแรกๆ คือ กลุ่ม Nigga Twins และ กลุ่มอื่นๆอย่างเช่น TheZulu Kings, The Seven Deadly Sinners, Shang-hai Brothers, The Bronx Boys, Rockwell Association, Starchild La Rock,Rock Steady Crew and the Crazy Commanders (CC step) เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการนักเต้นบีบอยยุคแรกๆ ช่วงที่การเต้นแบบนี้เริ่มพัฒนาจนมีเอกลักษณ์ น่าสนใจและสร้างนักเต้น ที่เป็นที่รู้จักนั่น ก็คือช่วงกลางยุคปี 70 ก็ได้แก่นักเต้นอย่าง Beaver, Robbie Rob(Zulu Kings), Vinnie, Off (Salsoul), Bos (Starchild La Rock), Willie Wil,Lil' Carlos (Rockwell Association), Spy, Shorty (Crazy Commanders),Jame Bond, Larry Lar, Charlie Rock (KC Crew), Spidey, Walter (Master Plan) ฯลฯกลุ่มบีบอยใหญ่ๆที่ทำใหศิลปะการปะทะกันด้วยเบรคแด๊นซ์นี้ไม่หายไป ก็คือการปะทะกันระหว่างกลุ่ม SalSoul (เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น The DiscoKids) กับกลุ่ม Zulu Kings และระหว่างกลุ่ม Starchild La Rock กับ Rockwell-Association ในขณะนั้น เบรคกิ้ง หรือ เบรคแด๊นซ์ ยังมีแค่ท่า Freezes, Footworks and Toprocks และ ยังไม่มีท่า Spins! ในช่วงปลายยุค 70 กลุ่มบีบอยรุ่นเก่าๆเริ่มที่จะถอนตัวกันไปและบีบอยรุ่นใหม่ๆก็เริ่มเข้ามาแทนที่ และ คิดค้นสร้างสรรค์ท่าและรูปแบบการเต้นใหม่ๆขึ้น เช่น การหมุนทุกๆส่วนของร่างกาย เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่นท่า  Headspin , Continues  Backspin  หรือ Windmill และอื่นๆอีกมาก ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนามาเรื่อยๆ ในช่วงยุค 80 มีกลุ่มบีบอยหลายๆกลุ่มที่โด่งดังในกรุงนิวยอร์ก ได้แก่ 'Rock Steady Crew' , 'NYC Breakers' , 'Dynamic Rockers' , 'United States Breakers' , 'Crazy Breakers' , 'Floor Lords' , 'Floor Masters' , 'Incredible Breakers' , 'Magnificent Force' ฯลฯ บีบอยที่เก่งช่วงนั้นก็เช่น Chino, Brian, German, Dr. Love (Master Mind), Flip (Scrambling Feet),Tiny (Incredible Body Mechanic) ฯลฯ.
การปะทะกันที่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เป็นการปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ NYC Breakers และระหว่าง Rock Steady Crewกับ Dynamic Rockers และในช่วงปลายยุคปี80การปะทะกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้ก็เริ่มดึงดูดสายตาเหล่าสื่อมวลชนและในปี1981 ช่องABCได้ถ่ายทอดการแสดงของ Rock Steady Crewที่ Lincoln Center และในปี1982 การปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ Dynamic Rockers ได้รับการบันทึกเป็นสารคดี ในชื่อ "Style Wars" และได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการจากช่อง PBS ซึ่งก็ทำให้ การเต้นเบรกกิ้งเดินทางไปสู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น "Roxy" คลับโรลเลอร์สเก็ตดิสโก้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น คลับฮิปฮอป.
ปี1983 ภาพยนตร์ "Flashdance" เป็นที่นิยมอย่างมาก และ มิวสิควีดีโอของMalcolm McLarens ที่ชื่อ "Buffalo Gals" ก็ได้ฉายออกทีวี Rock Steady Crew นั้นได้มีส่วนร่วมแสดงในทั้งสองเรื่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากความสำเร็จของทั้งภาพยนตร์และเพลงสำหรับคนทั่วไปแล้วการเต้น ?เบรคกิ้ง? นั้นเป็นสิ่งใหม่ ที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน และน่าตื่นตาตื่นใจ และในปีเดียวกันนั้น ภาพยนตร์เรื่อง"Wild Style" ก็ออกฉายและมีการโปรโมตภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการออกทัวร์ครั้งแรกของชาวฮิปฮอป มีทั้ง The MCs, DJs, Graffiti artists และ Breakers เดินทาง ไปโปรโมตที่ London และ Paris การออกโปรโมตครั้งนี้นั้นเป็นครั้งแรกที่โชว์เบรคกิ้ง ได้เปิดการแสดงสดในทวีปยุโรปในปี1984 ภาพยนตร์เรื่อง"Beat Street" เปิดตัวฉายและกลุ่มบีบอยที่ได้แสดงในเรื่องก็คือ Rock Steady Crew, NYC Breakers และ Magnificent Force และในช่วงการแสดงปิดท้ายงาน LA Olympic Summer Games เป็นการแสดงของบีบอย และ บีเกิร์ลกว่า 100คน! และในปีเดียว กัน "Swatch Watch NYC Fresh Tour" ก็ออกฉาย และภาพยนตร์ชื่อ "Breakin" ก็เริ่มถ่ายทำในปี1985 และต่อด้วย "Breakin 2: Electric Boogaloo" ทั้งสองเรื่อง ถ่ายทำในไนท์คลับชื่อ "Radio" (ภายหลังชื่อ "Radiotron") ใน LA ' Breakin' หรือ Breakdance' ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยและแฟชั่น เห็นได้จากโฆษณา ผลิตภัณฑ์นม,Right Guard, Burger King ฯลฯ และรายการทีวี อย่าง Fame, That's Incredible!, David Letterman ฯลฯ ทั้งนี้กลุ่มบีบอยยังได้รับเกียรติให้เป็นแขกกิตติมศักดิ์ ของเจ้าชาย ของ Bahrain และQueen Elizabeth อีกด้วย
จวบจนปัจจุบัน "บีบอย" ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป และได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็นมุมไหนของโลก การสร้างสรรค์ลีลาการเต้นที่เป็นสนุกสนานก็ยังคงดำเนินต่อไป

การเต้นประเภท Hip Hop :)

การเต้น Hip Hop



เป็นการเต้นตามจังหวะของดนตรี Hip Hop ซึ่งลักษณะที่สำคัญของดนตรีประเภทนี้จะเป็นการร้อง การพูด การแร็ป (Rap)  ประกอบกับดนตรีอีเล็คโทรนิก และเครื่องเคาะจังหวะประเภทต่างๆ (Percussions)  ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะที่เร็วปานกลางถึงเร็วมาก   ดังนั้นท่าทางของการเคลื่อนไหวจึงเป็นการเต้นที่เร็ว  มีการหยุด  การกระตุกของร่างกายในแต่ละส่วน (Isolation) หรือการ locking การย่อขาและโยกตัวตัวขึ้น-ลง (Bouncing) และการกระโดด (Hop) ไปตามจังหวะเพลง โดยผู้เต้นจะเต้นเน้นจังหวะตามจังหวะของกลองและเสียงกีตาร์เบส  มีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์  และกิริยาอาการต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราแล้วนำมาปรับเปลี่ยนเป็นท่าเต้นท่าต่างๆเพื่อความหลากหลายมากขึ้น  นอกจากนี้แล้วนักเต้น Hip Hop ยังมักนิยมนำเอาการเต้นเบรคแดนซ์ (Break Dance) มาเต้นประกอบการเต้น Hip Hop อีกด้วย
การที่การเต้นประเภท Hip Hop กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกลุ่มวัยรุ่นของไทย จึงทำให้สถาบันสอนเต้นรำหลายสถาบันในประเทศเพิ่มการเต้น Hip Hop เข้าไว้เป็นหนึ่งในวิชาที่เปิดสอนของสถาบันนั้นๆ จึงยิ่งเป็นการทำให้การเต้นประเภทนี้แพร่ขยายไปเร็วขึ้นอีก
ถึงแม้ว่าการเรียน Hip Hop จะเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ 8-9 ปี แต่กลุ่มนักเรียน Hip Hop ในประเทศไทยมักจะเริ่มตั้งแต่เด็กวัยรุ่นอายุตั้งแต่ประมาณ 12-13 ปีเป็นต้นไปจนถึงวัยคนทำงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงในงานกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน  เพื่อการแข่งขันหรือการประกวดเต้นรำต่างๆ  และเพื่อความสนุกสนาน รวมไปทั้งถือว่าเป็นการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน
ครูสอนเต้นรำที่ดีควรมีประสบการณ์ทั้งทางด้านการสอนและการแสดงค่อนข้างมาก เช่น เดียวกับการสอนการเต้น Hip -Hop ซึ่งผู้สอนควรที่จะต้องมีประสบการณ์จึงจะสามารถสอนให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การเต้น Hip Hop นอกจากจะเป็นการเต้นที่เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่มีผู้คิดค้นเอาไว้แล้ว และเป็นที่นิยมเต้นกันอย่างแพร่หลายมาสอนในชั้นเรียนแล้ว  ยังสามารถเกิดจากการคิดท่าเต้นขึ้นมาใหม่เพื่อการสอนและการแสดงอีกด้วย   ลักษณะการเรียนการสอนการเต้น  Hip Hop จึงมักจะขึ้นอยู่กับหลักการและประสบการณ์ของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  แต่ในบางสถาบันยังจะขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารสถาบันอีกประการหนึ่งด้วย
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าวิธีการเรียนการสอน Hip Hop นั้นไม่ได้มีหลักการที่แน่นอนและตายตัว และมักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  เช่นถ้าครูผู้สอนไม่สามารถเต้นท่าเบรคแดนซ์ได้ ก็มักจะสอนในท่าที่ง่ายๆหรือคิดออกแบบท่าเต้นที่ตนเองถนัดขึ้นมา ครูที่มีความสามารถในการเต้นหลายๆด้านก็จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถสอนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
อาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเต้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dancer เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและเต้นให้กับศิลปินต่างๆ


หลักและวิธีการการเต้น Hip Hop  จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่

1.การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) โดยครูผู้สอนจะนำการอบอุ่นร่างกายในทุกส่วนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ได้แก่ คอ ไหล่ ลำตัวช่วงบน (Rips) ช่วงกลางลำตัว สะโพก เข่า ขา  และเท้า โดยจะป็นการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน (Isolate)ไปในทิศทางต่างๆที่ร่างกายมนุษย์สามารถทำได้  เช่น ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง ด้านหลัง และการเคลื่อนร่างกายส่วนต่างๆเป็นวงกลม  เป็นต้น ท่าที่ใช้ในการอบอุ่นร่างร่างกายจะเป็นการฝึกท่าเต้นและการเคลื่อนไหวร่างกายในสไตล์ Hip Hop ขั้นพื้นฐานอีกด้วย โดยการนำท่าฝึกหัดต่างๆมาเต้นต่อเนื่องกัน
2.การโยกตัว (Hop) เป็นการฝึกที่เริ่มจากการงอลำตัวมาทางด้านหน้า แล้วยืดตัวขึ้น โดยทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง แล้วเริ่มงอเข่า (ย่อเข่า) แล้วยืดเข่า(ไม่จำเป็นต้องยืดเข่าสุด) ทำซ้ำหลายๆครั้งต่อเนื่องกันไปตามจังหวะ เมื่อคล่องแล้วจึงโยกตัวและย่อเข่าไปพร้อมๆกัน แล้วจึงเริ่มก้าวเท้าไปยังทิศทางต่างๆ เช่น ด้านข้างซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง เป็นต้น ต่อมาจึงเริ่มใช้ข้อศอกและแขนงอและตึงไปตามจังหวะของขา
3.การเดิน (Walking) ประกอบด้วยการก้าวสไลด์เท้า ก้าวขา และหันตัวไปในทิศทางต่างๆโดยใช้เทคนิคการย่อขา  การถ่ายน้ำหนักจากขาหนึ่งไปยังอีกขาหนึ่ง และยืดขาเพื่อให้ลำตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
4.การล็อกตัว (Locking) คือการเคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตุกแล้วหยุด  สามารถฝึกได้ทั้งการกระตุกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และการรวมกันของส่วนของร่างกายมากกว่าหนึ่งส่วนขึ้นไปประกอบกันเป็นท่าต่างๆ
5. การเต้นแบบหุ่นยนต์ (Robot) เป็นการเต้นเลียนแบบการคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยการเริ่มฝึกจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปทีละส่วน เช่นการใช้แขนยกขึ้น กระตุกเล็กน้อยแล้วหยุด สามารถทำได้ทั้งแขนเดียวขึ้นลงสลับกัน และทั้งสองแขนเคลื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นต้น โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์มักใช้ประกอบในการเต้นเพื่อโชว์ถึงความสามารถพิเศษของผู้เต้น  เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจและความหลากหลายในการแสดง เป็นต้น
6.การเต้นระบำ (Routine) เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่ฝึกมาเต้นประกอบดนตรีแบบต่อเนื่องกัน โดยผู้สอนจะค่อยๆเริ่มต่อท่าซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นการต่อท่าเซ็ท (Set) ทีละน้อย การเต้นระบำจะเป็นกลุ่มท่าที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและเรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นการฝึกทักษะขั้นสูงขึ้นและไม่นิยมใช้ท่าเดียวกันเต้นซ้ำไปมาเหมือนกับการฝึก exercise ต่างๆ  ครูผู้สอนมักออกแบบท่าทางให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียน โดยมีการพัฒนาโดยการเพิ่มจำนวนท่าเต้นให้ยาวขึ้นในแต่ละครั้งที่มีการเรียนการสอน และอาจมีการปรับเปลี่ยน ท่าให้มีความยากขึ้นโดยใช้ท่าที่ต้องใช้ทักษะและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนในชั้นเป็นสำคัญ

การเต้นประเภท บัลเล่ต์ :)

การเต้นบัลเล่ต์ (Ballet Dance)
              เป็นการเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรองสำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคทเธอรีน แห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง การเเสดงบัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำ หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ
             นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวของขามากกว่า ไม่ว่าการหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชน
            ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18  มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์   เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่น  การใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น
            ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไป
           ในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปีค.ศ.1789
          ปัจจุบันบัลเล่ต์มีผู้ชมจำนวนกว้างขึ้น และมีหลากหลายเรื่องที่เล่น ได้แก่ Swan Lake (หงส์เหิน) Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) The Nutcracker , Carmen ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพลงคลาสสิคของไชคอสสกีในการบรรเลง

             การเรียนบัลเล่ต์ นอกจากจะช่วยพัฒนาบุคลิกของเด็กแล้ว   ยังสามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของลักษณะการเดินให้มีท่าทีที่สง่างามได้อีกด้วย   เด็กที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นประจำจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง   ร่าเริงแจ่มใส เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและความกล้าแสดงออกให้กับเด็ก  ตั้งแต่วัยเยาว์ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักในเสียงดนตรีและการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ  ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาไปสู่การเต้นในรูปแบบอื่นๆต่อไป...


ประโยชน์ของการเรียนบัลเล่ต์ Ballet
  • ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  • ทำให้ผู้เรียนมีสรีระและบุคลิกภาพที่ดี เช่น เวลายืน เพราะการยืนแบบบัลเล่ต์จะต้องยืนหลังตรงหน้าเชิดตลอด 
  • ฝึกให้มีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัย 
  • ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านดนตรี ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักเพลงคลาสสิค 
  • เป็นการปูพื้นฐานการเต้นทุกชนิด หากเริ่มเต้นบัลเล่ต์ไปได้สักระยะหนึ่งแล้วผู้เรียนสามารถที่จะเรียนการเต้นรำชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสเก็ตน้ำแข็ง การเต้นลีลาศ ยิมนาสติกลีลา ระบำใต้น้ำ แจ๊ส ระบำสเปน หรือแม้กระทั่งฮิบฮอป ได้ง่ายขึ้นมากกว่าคนที่ไม่มีพื้นฐานบัลเล่ต์มาก่อน  
  • ปลูกฝังรสนิยมที่ดีให้กับเด็ก

Dancing : ความหายและประโยชน์ของการเต้น


ความหมายของการเต้น
การเต้นคือ
        การทำท่าทางให้เข้ากับจังหวะเพลงนั้นๆ หรือที่เราเรียกกันว่า การเต้นประกอบจังหวะดนตรี  ซึ่งการเต้นมีลักษณะที่สำคัญแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ที่จะสามารถติดตามได้ ในบล็อกต่อๆไปนะคะ ^^-

ประโยชน์ของการเต้น 
1. สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานนอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้องคือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย
  • ระบบกระดูก ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย
  •  ระบบการหายใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น
  • ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง
  • ระบบควบคุม ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ
  •  การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก
  • บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี
  • ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน
  •  ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานนอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้องคือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย
  •  ระบบกระดูก ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย
  •  ระบบการหายใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น
  • ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง
  • ระบบควบคุม ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ
  • การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก
  • บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี
  • ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน

2. ฝึกความอดทน
3.ฝึกความสมดุลในร่างกาย
4.การเต้นทำให้คลายเครียดได้