วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

การแข่งขันเต้นของฉัน .

การแข่งขัน บรรจงทรัพย์ มันส์ยกล้อ 
Dancing contest.
ของซูซูกิ บรรจงทรัพย์


การเต้นประเภท ฟังก์

ฟังก์ (Funk)


เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้น ด้วยเบสอีโลคโทรนิก และกลอง ให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว
ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน
ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง
Funk เป็นการ เต้นที่ผสมผสาน Hiphop , Jazz , Street Dance, เข้าด้วยกัน ใช้การเคลื่อนไหวจากพื้นฐานของ Jazz และ Dynamic ของสไตล์ hiphop และ Street เน้นความสนุกและผสมกับความแข็งแรงความยืดหยุ่นของร่างกาย ในสไตล์เพลง Funk

การเต้นประเภท Cover dance และ ลาตินแดนซ์

Cover dance

การเต้น cover   คือ การเต้นเลียนแบบศิลปะว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม แต่ที่นิยมอยู่ในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเกาหลี ฟีเว่อร์   ซึ่งในปัจจุบันการเต้นcover ศิลปินเกาหลีเป็นที่แพร่หลายอย่างมากยกตัวอย่างวงดังๆ เช่น  Super junior , Wonder girls , ดงบังชินกิ, Girl Genaretion  เป็นต้น การเต้นประเภทนี้เป็นการเต้น Hip Hop และ Popping ผสมผสานเข้าด้วยกัน   เป็นการฝึกสมาธิให้กับผู้เรียน  อีกอย่างหนึ่งการเต้น Cover สามารถเต้นได้ทุกวัย  ไม่จำกัดเพศและอายุ  เป็นการเต้นที่มีความสร้างสรร และเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราได้กล้าแสดงออกและมีเพื่อนใหม่


---------------------------------------------------------------------------------------


ลาตินแดนซ ์(Latin Dance)

คือหนึ่งในหลายๆแขนงของการเต้นรำท่วงท่าลีลาและจังหวะดนตรีมีต้นกำเนิดมาจากการเต้นรำพื้นเมืองของประเทศใน แถบลาตินอเมริกาส่วนใหญ่จะเต้นกันในงานเลี้ยงฉลอง หรืองานเทศกาล เน้นจังหวะที่สนุกสนานเร้าใจด้วยสเต็ปง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่มีแบบแผนตายตัว แต่มีเอกลักษณ์
ลีลาที่เร่าร้อนสอดรับกับจังหวะเสียงเพลงที่เร้าใจ ทำให้คุณรู้สึกถึงพลังและความเซ็กซี่ของตัวเองคุณจิ๋ม-ผาสุข ปลัดรักษา ครูสอนคลาส ลาตินเฟียสต้า(Latin Fiesta) ให้คำนิยาม
การ เต้นรำสไตล์ลาตินเริ่มโด่งดังในยุโรปและอเมริกาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้ง ที่ 1 สำหรับในประเทศไทยเพิ่งเข้ามาแพร่หลายได้ไม่กี่ปี แต่ถึงแม้จะเข้ามาได้ไม่นาน การเต้นสไตล์นี้ก็ทำให้ใครต่อใครหลายคนหลงใหลไม่น้อยทีเดียว การเต้นลาตินแบ่งเป็น 2 แบบ แบบแรกคือสไตล์ลาตินอเมริกัน มีอยู่ 5 จังหวะ คือ Cha Cha Cha, Cuban Rumba, Samba, Paso Doble และ Jive หรือ Rock'n'Roll แต่ละจังหวะจะมีจุดเด่นที่ต่างกันไป เช่น Cha Cha Cha ที่ดูเหมือนการเต้นหยอกล้อเกี้ยวพาราสี Samba เป็นลีลาการเต้นในงานเทศกาลต่างๆ ของชาวบราซิล ขณะที่ Cuban Rumba มาจากประเทศคิวบา จะเต้นแบบยั่วยวนนิดๆ แบบที่สองคือลาตินแบบ Social ซึ่งมีหลายประเภทมากๆ ที่โด่งดังที่สุดคือ Salsa ซึ่งเราคุ้นเคยกันดี
ลา ตินกับลีลาศคำว่า ลีลาศมันเป็นภาษาไทย ซึ่งมาจากคำว่า แดนซ์ในภาษาอังกฤษนั่นแหละค่ะ เราบัญญัติศัพท์คำว่าลีลาศ แทนคำว่าเต้นรำ เพราะคำว่าเต้นรำเมื่อเป็นคำผวนแล้วฟังดูไม่ดีครูจิ๋มเล่า คนไทยพอได้ยินคำว่าลีลาศก็มักจะคิดถึงจังหวะเนิบๆ ช้าๆ แต่จริงๆ แล้วการเต้นลีลาศทุกประเภทมันเป็น Basic Figures(ท่าเต้นพื้นฐาน) เดียวกัน แตกต่างกันที่สไตล์การเต้น พอมีคำว่าลาตินเข้าไปมันจะเป็นอะไรที่แรงขึ้น ความแข็งแรง ความเร็ว และความเซ็กซี่มันจะต่างกัน


การเต้นประเภท Jazz dance

Jazz dance





แจ๊สแดนซ์มีสองความหมาย ขึ้นอยู่กับยุค ทั้งสองแบบเกี่ยวข้องกันโดยวิวัฒนาการ
จนถึงช่วงกลางปี ค.ศ. 1950 การโชว์แจ๊สแดนซ์ มักจะหมายถึงการเต้นแทป เพราะดนตรีแจ๊สและแทปได้ถูกใช้ในการเต้นของยุคนั้น การเต้นแทปแบบอเมริกันมีรากเหง้ามาจากการเต้นแบบพื้นบ้านของชาว "ไอริช" และชาวแอฟริกัน ในยุคของการพลงแจ๊สนั้น แจ๊สแดนซ์เป็นการเต้นแบบสวิง ซึ่งเกี่ยวพันกับการเต้นแบบ เค๊กวอค แบล๊คบอทท่อม ชาร์เลสตัน ลินดี้ฮอป ซึ่งเป็นรูปแบบในการเต้นที่ใช้กันในยุคของเพลงแจ๊ส
รากเหง้าสำคัญอีกอย่างของแจ๊สแดนซ์ คือมาจากการเต้นแบบอาฟริกันอเมริกันเวอร์นาคิวล่าในช่วงปลาย ค.ศ.1800 จนถึงช่วงกลาง ค.ศ. 1900 หลังจากช่วงปี ค.ศ.1950 ผู้บุกเบิก เช่น แคทเธอรีน ดันแฮม ได้นำการเต้นแบบพื้นบ้านของชาวคาริบเบียนมาแสดงเป็นศิลปะการเต้น
ตั้งแต่ยุค 1950 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงของวงการบันเทิงทางด้านดนตรีที่เติบโตในหลายรูปแบบ แจ๊สแดนซ์ได้วิวัฒนาการเข้ากับนักออกแบบท่าเต้นของบรอดเวย์ไปเป็นแบบใหม่ เรียบง่าย ตามแบบบรอดเวย์ยุคใหม่ ซึ่งมีการสอนเต้นในปัจจุบันที่เรียกว่า โมเดิร์นแจ๊ส ในขณะที่แทปแด้นซ์ยังคงมีวิถีทางในการวิวัฒนาการของตัวมันเอง นักเต้นแจ๊สแดนซ์ในยุคแรกๆที่มีชื่อเสียง เต้นโชว์ในโรงละครคือ โจ ฟริสโก้ ในช่วงปี ค.ศ.1910 นายโจได้เต้นแบบปล่อยแขนปล่อยขาให้ต่ำลงกับพื้น พร้อมกับการก้าวกระโดด และการขยับหมวกและซิการ์
แจ๊สแดนส์คือรูปแบบการเต้นทั่วไปในละครบรอดเวย์และในหนัง แจ๊สแดนส์มีความร่วมสมัยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบัลเลต์ ถึงแม้ว่า แจ๊สแดนส์จะดูว่าง่ายและสนุกเมื่อเห็นนักเต้นเต้นอยู่ แต่นักเต้นต้องรักษาหุ่นให้ดีจริงๆ และฝึกฝนถึง 6 ชั่วโมวต่อวัน การแสดงแจ๊สดั้งเดิมคือ "ออล แจ๊สและชิคาโก้"
เทคนิคของการเต้นแจ๊สแดนซ์และโมเดิร์นแดนส์มีพื้นฐานของการเต้นบัลเลต์แบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่าทั้งสองแบบนี้จะขัดกับการเต้นแบบบัลเลต์ การเต้นแจ๊สแดนซ์ที่ดีเลิศนั้น นักเต้นต้องใช้การเต้นบัลเลต์เป็นหลัก การเคลื่อนไหวในการเต้นแจ๊สแดนซ์จะมีมากและเกินความเป็นจริง ซึ่งมักจะเป็นท่าทางโดยทั่วไปที่นักเต้นต้องการสื่อให้ผู้ดูผู้ฟัง ท่าทางจะขึ้นอยู่กับการเต้น เช่น ในการแสดง ลิฟวิ่ง วิด้า โลก้า นักเต้นอาจจะมีความสุข และแสดงท่าทีว่าพวกเขาอยู่ที่งานปาร์ตี้มีความสุขกับการเต้น มีการใช้การเต้นแจ๊สใน เอ็มทีวี นักเต้นโชว์ในลาสเวกัสก็เป็นนักเต้นแจ๊สด้วย

เกือบทุกโรงเรียนที่สอนการเต้นจะมีการสอนการเต้นแจ๊ส ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุดของนักเต้นสมัครเล่น หลักสำคัญในการเต้นแจ๊สคือการให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งเป็นรูปแบบการเต้นที่เข้าใจง่ายต่อผู้ที่ได้พบเห็น ดั่งท อัลวิน เอลี่ นักออกแบบท่าเต้นยุคใหม่ที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้บุกเบิกกล่าวไว้ว่า "การเต้นมาจากผู้คน และควรจะให้กับผู้คนเสมอ"
ผู้อำนวยการและนักออกแบบท่าเต้นที่มีชื่อเสียง ก็มี บ๊อบ ฟอส, กัส จิออดาโน่, เกวน เวอร์ดอน, แจ๊ค โคล, และ ยูจีน หลุยส์ แฟคซุยโต้ (หรือที่รู้จักกันในนาม ลุยจิ)
คณะเต้นแจ๊สที่มีชื่อเสียงก็มี ออล แดท แจ๊ส, แคน-แคน, แดมน์ แยงกี้, เรดมิลล์
การเต้นแจ๊สมีหลายรูปแบบ อย่างไรก็ดี รูปแบบต่างๆที่มีก็มาจากรากเหง้าเดียวกัน คือ แทป ดนตรีแจ๊ส และจังหวะและการเต้นแบบแอฟริกัน-อเมริกัน
ในยุคของแจ๊ส รูปแบบการเต้นแจ๊สรวมถึง
* การเต้นสวิงและที่เกี่ยวข้องกับ ลินดี้ ฮอป, แบล็ค บอทท่อม, ชาร์เลสตัน และ เค็กวอล์ค
* การเต้นที่ทำให้เป็นที่นิยมจากงานของ บ๊อบ ฟอส (เช่น ชิคาโก้, คาบาเร่ต์, พาจาม่า เกม)
ปัจจุบันแจ๊สแดนซ์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเต้นในโรงละคร และเป็นพื้นฐานซึ่งทำให้เป็นที่ชื่นชอบ รวมทั้งเป็นตัวเชื่อมโยงกับรูปแบบต่างๆที่เหมาะกับการโชว์ การเต้นแจ๊สในสไตล์สวิงและคาบาเร่ต์ได้มีแรงผลักดันในโรงเรียนสอนการเต้น คลับต่างๆ และในโรงละคร

การเต้นประเภทแท็ป

การเต้นแท็ป หรือ แท็ปแดนซ์ (Tap dance) 


เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก ชื่อของการเต้นรำชนิดนี้เกิดมาจากเสียง "แท็ป แท็ป" จากแผ่นเหล็กภายใต้รองเท้าเต้นสัมผัสกับพื้น การเต้นรำชนิดนี้ไม่เพียงแต่ เป็นเพียงการแสดงเต้นรำ แต่รวมถึงการสร้างจังหวะเสียงเหมือนนักดนตรีอีกทางหนึ่ง
การเต้นแท็ปถือกำเนิดในเขตไฟว์พอยส์ในเมืองนิวยอร์กโดยเกิดจากการผสมผสานของของการเต้นรำของแอฟริกา ไอร์แลนด์ สวีเดนและอังกฤษ ทำให้เกิดการเต้นแท็ปในลักษณะของอเมริกันถือกำเนิดขึ้น และได้เป็นที่นิยมเมื่อมีการแสดงลักษณะวอเดอวิลล์ (Vaudeville) ในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น การเต้นแท็ป ยังคงเรียกว่า การเต้นแจ๊ส (jazz dance) เนื่องมาจากเพลงหลักที่ใช้ในแท็ปคือแจ๊ส

ลักษณะเฉพาะของแท็ป

รองเท้าแท็ปจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายเท้าและส้นเท้าสำหรับสร้างจังหวะ จังหวะของแท็ปปกติจะใช้ที่ 8 จังหวะ (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, หยุด, 1, 2, ...) และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจังหวะของตัวเอง แท็ปสามารถเต้นตามจังหวะของเพลง หรือขึ้นจังหวะเอกได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพลงกำกับ ท่าเต้นพื้นฐานของแท็ปได้แก่

  • แฟลป เสียงจังหวะที่ปลายเท้าสัมผัสกับพื้น 1 จังหวะ และหยุด
  • บรัช เสียงจังหวะปลายเท้า 1 จังหวะ เหมือนกับการกวาดพื้นด้วยปลายเท้า
  • ชัฟเฟิล เสียงจังหวะที่ปลายเท้า 2 จังหวะ โดยเป็นการสะบัดปลายเท้าไปและกลับ (เหมือนกับ บรัชและย้อนกลับ)

ตัวอย่างการผสมของท่าแท็ปพื้นฐาน อาจผสมได้หลายอย่างเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ

การเต้นประเภท Street Dance

Street Dance

สุดยอดสไตร์การเต้นหลายสายพันธุ์ (http://streetdance-p-tondz.blogspot.com/2009/06/street-dance.html)
             ใครที่เป็นขาดานซ์ คงเคยออกสไตล์การเต้นแบบมันๆ เลียนแบบสไตล์ดานเซอร์ที่เรามักจะเห็นตามจอทีวี. แต่มีใครรู้บ้างหรือเปล่า ? ลีลาท่าเต้นที่เราพบเห็นกันบ่อยๆตามเวทีคอนเสริต์ต่างๆ ในบ้านเรา ซึ่งจะพบเห็นได้บ่อยมากในแนว การเต้นชนิดนี้ ก็จะเป็นพวกแนวเพลง Franky กับ Hip Hop ทีนี้คงอยากรู้กันแล้วละสินะว่าสไตล์การเต้นที่เราเห็นกันจนชินตาอยู่เป็นประจำ ชื่อเสียงเรียงนาม ที่เขาเรียกกันอย่างเป็นทางการจริงๆ เขาเรียกแนวการเต้นชนิดนี้ว่าอย่างไร เพื่อไม่ให้เสียเวลาของน้องๆ EDUTAINMENT UP GRADE ขอเฉลยคำตอบพร้อมทั้งเปิดตัวแนะนำการเต้นชนิดนี้กันแบบให้ถึงแก่นแท้เลยซึ่งลีลาการเต้นที่กล่าวถึงนี้ตามภาษาสากลโลกที่เขานิยมเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า”StreetDance”
Street Dance เพียงแค่ชื่อนี้วิ่งผ่านหู ทุกคนต้องคิดกันแบบชนิดชี้ชัดเจาะจงไปเลยว่าลีลาการเต้นเทรนด์นี้ต้นตอ รากฐานกำเนิดต้องเกี่ยวกับถนนแน่ๆ ใช่แล้ว! โป๊ะเชะ!ถูกต้องที่สุดลีลาการเต้นแนวนี้ กลุ่มชนคนผิวดำตามเขตพื้นที่สลัมในอเมริกา ซึ่งมักจะเป็นผู้คิดค้นแนวการเต้นมันๆที่กระแทกใจวัยโจ๋กันทั่วโลกได้เอาแนวการเต้นที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นำมาผสมผสานมิกซ์เข้าด้วยกันแล้วนำมาออกลีลาท่าทางตามถนน โดยกลุ่มผิวดำเหล่านี้จะเปิดเพลงจากวิทยุที่พวกเขาพกติดตัวมาด้วย พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางกันอย่างสนุกสนาน เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่มคนผิวดำยังมีการชักชวนคนที่เดินอยู่ตามท้องถิ่นมาร่วมเต้นกันด้วยStreet Dance เป็นท่าเต้นที่ผสมผสานกับท่าเต้นรูปแบบต่างๆ ในขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น Break dance, popping & Locking Hip Hop, และJazz Dance โดยเอาท่าทางขั้นพื้นฐานของทั้ง หมดมารวมกันจนออกมาเป็น Street Dance ให้น้องๆ ได้ออกลีลามันๆกันเต็มที่เคล็ดลับจริงๆ ที่ผู้ฝักใฝ่ในการเต้นแนวนี้พึงต้องมีคือ ต้องเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบท่า-ให้แหวกแนวแต่ต้องอยู่ในการยอมรับจากเหล่าหมู่ขาดานซ์ด้วยกัน เพราะการเต้นแนวนี้ไม่จำกัดเพศสามารถออกลีลามันๆ เต้นได้ทั้งหญิงและชาย ฝ่ายชายจะมีลีลาท่าเต้นที่ดูแล้วออกแข็งแรง ส่วนฝ่ายหญิงจะเน้นที่ความพร้อมเพรียงและดูสวยงามในทีมเต้นของตัวเองลักษณะพิเศษสุดๆจริงๆเลยของการเต้น Street Dance คือ ผู้เต้นสามารถที่จะเอา ท่าทางของกีฬายิมนาสติก มาประยุกต์ใช้กับลีลาการเต้นนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ยกตัวอย่าง เช่น ท่าตีลังกา ท่ากังหัน ท่าหมุนหลัง และท่าแมงป่อง ซึ่งท่าทางการเต้นเหล่านี้ไม่ถึงขนาดยากจนเกินไปนัก จนเหล่าบรรดาเพื่อนนักเต้นทั้งหลายไม่สามารถฝึกปรือฝีมือกันได้ ซึ่งลีลาการเต้นแนวนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในเอเซีย โดยเฉพาะมหาอำนาจแห่งแฟชั่นอย่างประเทศญี่ปุ่นกำลังฮิตติดลมปนไปกับลีลาการเต้นแนวนี้ได้รู้จักกันเต็มๆ กันไปแล้วกับ Street Dance


การเต้นประเภท BODYCOMBAT


การเต้น BODYCOMBAT


การเต้นที่ผสมผสานการต่อสู้ทั่วทั้งเอเชีย ทั้งเทควันโด มวยไทย คาราเต้ และไทชิ

  dance19
เตรียมประจัญบาน!!

ก่อนเริ่มท่าเต้นต้องมีการวอร์มอัพกันก่อน จากนั้นก็ต้องมีท่าเริ่มต้น ท่ายืนเตรียมพร้อม โดยยืนเท้าให้ห่างกัน 1 ช่วงไหล่  ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งไปด้านหลัง 1 ก้าว ให้ตำแหน่งของเท้าทั้งสองข้างเป็นเส้นทแยงมุม ตั้งการ์ด โดยยกมือกำหมัดทั้งสองข้าง ปิดกรามไว้ แล้วหนีบศอกไว้ข้างลำตัว 6 ท่าสัประยุทธ์
Yap & Cross
Yap ให้ผลักไหล่พร้อมกับชกหมัดด้านหน้าออกมาตรง ๆ 


Cross ให้ผลักไหล่พร้อมกับ ชกหมัด ด้านหลังออกมาตรง ๆ โดยบิดข้อมือกับหมัดคว่ำลงประมาณจมูกของคู่ต่อสู้ ขณะปล่อยหมัดให้บิดสะโพกและยกส้นเท้าขึ้นด้วย

dance20
            Hook หลังจากปล่อยหมัดแย๊บออกไปแล้วก็ฮุคกันเลย เปิดศอกและแขนให้ขนานกับพื้น แขนท่อนบนกับท่อนล่างทำมุมเป็นมุมฉาก คว่ำหมัดลง หลังจากนั้นให้เหวี่ยงลำตัวทั้งหมด เปิดส้นเท้าพร้อมออกหมัดชก
dance21
Upper Cut ย่อเข่าเล็กน้อย พร้อมกับม้วนแขนจากด้านล่าง โดยศอกไม่กางออกจากลำตัว เอียงไหล่ลงไปเล็กน้อย พร้อมกับเหวี่ยงลำตัวทั้งหมด เปิดส้นเท้า พร้อมออกหมัดชกเสยขึ้น หยุดอยู่บริเวณคางคู่ต่อสู้ ท่านี้ฝึกให้ดี..อาจทำให้ใครบางคนลงไปจูบพื้นก็เป็นได้

dance22
                       Roundhouse Kick ออกแรงช่วงบนไปแล้ว เดี๋ยวช่วงล่างจะน้อยใจ ยกขึ้นมาสะบัดกันหน่อย ยืนให้ส้นเท้าหลังหันออกไปด้านหน้า เอียงตัวไปด้านหลัง ยกขาหน้าขึ้น กำหมัดชี้แขนด้านหน้าออกไป หลังจากนั้นให้เตะขาออกไปจนสุด ท่าเดียวยังไม่หนำใจลองท่าเตะขาอีกสัก 2 สเต็บเป็นไง !!!
dance23
Side Kick เอียงตัวไปทางด้านข้าง ยกขาขึ้นจากพื้น โดยงอเข่าเข้าหาหน้าอก กำหมัดด้านเดียวกับขาที่ยกขึ้น ถีบขาออกไปด้านข้าง เพื่อให้ส้นเท้ากระทบ
เป้าหมายที่ต้องการ

dance24
Knee ยกเข่าขึ้นไปด้านหน้า เข้าบริเวณกลางลำตัวคู่ต่อสู้ ส่งแรงจากสะโพกช่วยให้เข่ามีความรุนแรงขึ้น แล้วอัดให้เต็มเหนี่ยว นั่นแหละ...โดนจัง ๆ

dance25
จากนั้นก็ลองฝึกอีก 2-3 รอบ จะทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น และทั้งหมดนี้เป็นเพียงท่าพื้นฐานของ BODYCOMBAT จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้เยอะ ลองไปศึกษาเพิ่มเติมหรือจะหาวีซีดีมาฝึกดูด้วยตัวเองก็ไม่มีใครว่า จะได้ทั้งเหงื่อและ กล้ามเนื้อ งานนี้มีแต่ได้ ไม่มีเสีย

dance26

ข้อพึงสังวร

                     “อย่าสะบัด” ไม่ว่าจะเป็นแขนหรือขา เพราะระยะยาวข้ออาจสึกก่อนวัยอันควร ซ่าส์ไม่ออกแล้วเดี๋ยวจะหาว่าเราไม่ชี้แนะ

การเต้นประเภท C-walk

การเต้น  C-walk


             2 มือน่ะให้ล้วงกระเป๋า ส่วน 2 เท้าก็ให้ก้าวเข้ามา ที่บอกว่าให้เอามือล้วงกระเป๋าไว้ ก็เพราะว่าเดือนนี้ Zap Zone มีสไตล์การเต้นที่เน้นแต่การใช้เท้าแบบขยับเขยือนแค่เบาๆ  นั่นคือการเต้น C-Walk(Crip Walk) หรือที่ชาวเท้าไฟทั้งหลายคุ้นหูกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Clown Walk นั่นเอง



อะไรกัน Clown Walk ตัวตลกเดินเหรอ ?
จะว่าอย่างนั้นก็ใช่ เพราะท่าทางการเต้น Clown Walk จะว่าไปแล้วก็ดูคล้ายกับท่าทางการเดินของตัวตลกในหนัง ซึ่งก็พอจะสืบความได้ว่า Clown Walk เดิมถูกเรียกว่า The Crip Walk หรือ C-Walk ถือกำเนิดขึ้นในแถบ ชานเมืองของ Los Angeles โดย Raymond Washington 1 ในสมาชิกแก๊งค์ที่ชื่อว่า crip ในปีค.ศ.1969 ซึ่งแรกเริ่มนั้น การ crip walk เป็นการเดินเพื่อ represent แก๊งค์เท่านั้น แต่ต่อมากลับได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการพัฒนาจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในสไตล์การเต้นของเพลงแนวฮิพฮอพตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา
เอาล่ะ ! พร้อมจะเต้น C-Walk กันรึยัง ?  (Crip Walk=C-Walk=Clown Walk) ถ้าพร้อมแล้ว ก่อนอื่นก็ต้องไปหาอุปกรณ์ที่สำคัญมาสวมใส่กันซะก่อน ซึ่งจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก รองเท้าหาที่ใส่พอดี กระชับ พื้นหนาพอประมาณ เพราะถ้าพื้นรองเท้าหนาเกินไปอาจจะทำให้สะดุดได้
เมื่อเท้าพร้อม ใจพร้อม ก็ลุยกันเลยดีกว่า... !!
เริ่มต้นกันด้วยท่าเบสิคระดับชั้นอนุบาลของการเต้น C-Walk กันก่อน นั่นคือ...  The "V" เป็นการฝึกให้ข้อเท้า ของเราเคยชินกับการขยับเขยือน เหมือนเป็นการวอร์มอัพไปในตัวด้วย วิธีการก็ง่ายๆ วางเท้าทั้ง 2 ข้างของเราลงบนพื้น งอหัวเข่าเล็กน้อยควบคุมให้เท้าทำงานประสานกันออกมาเป็นรูปตัว V คือหันปลายด้านนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างมาชิดกัน สลับด้วยการเอาด้านส้นเท้ามาชิดกัน เหมือนตัว V กลับหัวและตัว V ตั้งนั่นเอง
โดยท่า The "V" ก็ยังแบ่งย่อยออกได้อีก 3 แบบด้วยกัน คือ
- V Back Step : คือการผสานกันของเท้ารูปตัว V ไปทางด้านหลัง โดยใช้ขาช่วยในการเคลื่อนที่
- Foward V : คือการผสานกันของเท้ารูปตัว V ไปทางด้านหน้า โดยใช้ขาช่วยในการเคลื่อนที่
- V Step : ท่านี้ค่อนข้างจะยาก อาจเป็นเรื่องลำบากสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมากๆ(หรืออวบระยะสุดท้าย) เพราะเป็นการทำเท้าให้เป็นรูปตัว V แล้วขยับไปด้านข้าง ด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้วยขาเพียงข้างเดียว


The Shuffle : คือการเคลื่อนเท้าไปข้างหน้าและข้างหลังสลับไป-มา โดยระหว่างที่สลับเคลื่อนย้ายเท้าให้วางน้ำหนักไว้ที่บริเวณปลายเท้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นท่าที่ค่อนข้างจะง่ายท่านึงเลยนะ ไม่เชื่อก็ลองทำดูสิและก็ยังแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ท่าย่อย
The Shuffle Kick : การเคลื่อนเท้าไปข้างหน้าและข้างหลังสลับไป-มา โดยทิ้งน้ำหนักไว้ที่ส้นเท้า

Shuffle Spin : การเคลื่อนเท้าไปข้างหน้าและข้างหลังสลับไป-มา โดยงอหัวเข่าเล็กน้อย แล้วสลับไปมา 180 หรือ 360 องศา รอบตัว
The Heel Toe : เป็นท่าที่ใช้การหมุนของร่างกายเข้ามาช่วยเสริมการใช้เท้าด้วย โดยการเคลื่อนเท้าซ้ายเท้าขวาสลับไป-มา ร่วมกับการบิดเอว แล้ววางน้ำหนักไว้ที่ส้นเท้า
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ท่าพื้นฐานไม่กี่ท่าของการเต้น C-Walk เท่านั้นนะ แต่ถ้าฝึกฝนบ่อยๆ ก็อาจจะช่วยให้พัฒนาจนสามารถเต้นท่าที่ยากกว่านี้ได้ นี่ขนาดอ่านทฤษฎียังรู้สึกว่าการเต้น C-Walk เนี่ยมันดูเท่ห์ชะมัดเลยใช่ไม๊ล่ะ ลองคิดดูสิว่าถ้าเราเต้นเป็น จะเป็นที่ฮือฮาป๊อปปูล่าในกลุ่มเพื่อนฝูงซักแค่ไหน รู้อย่างงี้แล้วก็ลองไปหัดเต้น C-Walk กันเลยดีกว่า !! 

การเต้นประเภท Poppin

การเต้น  Poppin

ช่วงนี้ถ้าเดินไปไหนมาไหน เห็นใครเดินตัวกระตุกๆ ก็ไม่ต้องตกกะใจไป เพราะกระแสบอยแบนด์แดนกิมจิ กำลังมาแรงจนยากที่จะเอาอะไรมาฉุดไว้ได้อีกแล้วล่ะ โดยเฉพาะท่าเต้นเท่ห์ๆ ที่เรียกว่า Poppin ที่หนุ่มเกาหลี K-POP เค้าชอบเต้นกันซะเหลือเกิน ก็เลยทำให้ M MAX Zap Zone พากระโจนเข้ากระแส ชวนคนมันส์ซ่าไปทำความรู้จักกับการเต้น Poppin กันซะหน่อยดีกว่า !
ไปยังไง มายังไงกันล่ะ Poppin เนี่ย !
Poppin หรือ Popping เป็นการสมานฉันท์กันระหว่าง funk dance & street dance แต่เป็นการเต้นที่ต้องอาศัยการกระตุกกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อของอวัยวะส่วนต่างๆ มองเผินๆ จะดูแข็งๆ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความพริ้วไหว เพราะอาศัยความรวดเร็วที่ผู้เต้นใช้ในการจัดท่าทางต่างๆ ให้ลงตัว โดยเริ่มมีการเต้นกันมาตั้งแต่ช่วงเกือบๆ ปี 1980 ที่ California นู้นเลย โดยกลุ่ม Poppin ที่ชื่อว่า Electric Boogaloos แต่ถ้าจะพูดถึงศิลปินเดี่ยวที่ปลุกกระแสการเต้น Poppin ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เค้าคือ “Michael Jackson” The King Of Pop ของโลกนั่นเอง ที่คงพอจะจำกันได้กับท่าเต้นแปลกๆ ของเค้า(เมื่อเทียบกับในยุคนั้น) ซึ่งบางทีก็ดูคล้ายกับหุ่นยนต์ใส่ถ่านยังไงอย่างงั้นเลย แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่น่าเชื่อว่าการเต้น Poppin ที่เคยดูขัดหูขัดตาเมื่อหลายสิบปีก่อน จะกลับมา Pop (สมชื่อ) กันอีกครั้งในยุคนี้ ด้วยฝีไม้ลายมือ(และหน้าใสๆ )ของหนุ่มเกาหลีเพื่อนบ้านของเรานี่เอง

ศิลปินเกาหลีวงไหนบ้างล่ะที่เต้น Poppin
ถ้าจะเอาระดับโปรจริงๆ ถึงขนาดว่าเป็นปรมาจารย์สอนนักร้องคนอื่นๆ มาแล้วเนี่ย ก็คงต้องยกให้กับหนุ่ม Hyun Joon ที่ถึงขนาดเค้าได้รับฉายาว่า Poppin Hyun Joon กันเลยทีเดียว ซึ่งเค้าได้เคยเป็นอาจารย์สอนการเต้น Poppin ให้กับศิลปินดังๆ มาแล้วมากมาย อย่างเช่น H.O.T, Super Junior, Lee Junki, Boa และ Paran (เก่งไม่เก่งก็คิดดูเอาแล้วกันนะ)
Poppin ท่าไหนถึงจะเท่ห์บาดใ
ขอให้เป็น Poppin เถอะ ! จะท่าไหนก็เท่ห์บาดใจได้ทั้งนั้นล่ะ ก่อนจะเริ่มเต้นขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งไปทานอะไรมาอิ่มๆ ล่ะ เดี๋ยวจะจุกเอาได้ง่ายๆ นะ เอาล่ะพร้อมจะ Poppin กันรึยัง พร้อมแล้วก็ไปเข้าท่ากันเลยดีกว่านะ(เพราะถ้าไม่เข้าท่า มันก็ไม่ดีไง) เริ่มจากท่าแรกที่จะแนะนำคือ... - Boogaloo/Electric boogaloo หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นท่าออริจินอลของ Poppin เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นท่าที่กลุ่ม Electric Boogaloos คิดค้นขึ้นมา ลักษณะของท่าก็คือการทำตัวเป็นมนุษย์ไร้กระดูกเคลื่อนไหวสะโพก หัวเข่าไปจนถึงหัว ให้พริ้วเหมือนกับร่างกายกำลังถูกม้วนเป็นวงกลมเลย

Animation หรือแปลตามตรงได้ว่า ภาพเคลื่อนไหว
ที่เรารู้ๆ กันนั่นแหละ เป็นการเต้นที่ผู้เต้นจะพยายามทำท่าเลียนแบบภาพบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ ทีละเฟรม ทีละเฟรม เป็นภาพต่อเนื่องกัน ใครที่ทำได้เนียนๆ อ่ะนะ ก็จะมองดูคล้ายๆ กับการ์ตูน Animation เลยล่ะ
Liquid dancing
ท่าเต้นที่ให้ผู้เต้นจินตนาการว่าตัวเราเองคือของเหลว ไม่ว่าจะเป็น นิ้วมือ มือ แขนและขา ให้เคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน
Robot/botting
ท่านี้ไม่มีอะไรยากเย็น แค่ให้นึกถึงอิริยาบถต่างๆ ของการ์ตูน หุ่นยนต์ ที่เราเคยดูกันตอนเด็กๆ นั่นแหละใช่เลย ! แข็งๆ ทื่อๆ แต่ทำแล้วดูเท่ห์ชะมัด !
Slow motion
ท่านี้เหมาะกับคนที่ชอบทำอะไรเชื่องช้า เพราะต้องพยายามเยื้องย่างกายให้ช้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดูเหมือนจะง่ายนะ แต่จริงๆ แล้วต้องอาศัยการเกร็งตัวอย่างมาก ซึ่งก็จะทำให้รู้สึกเมื่อยน่าดูเลยล่ะ
Waving
คือการเต้นโดยทำตัวให้มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงเหมือนอย่างคลื่นทะเล ท่านี้จะคล้ายๆ กับท่า Liquid dancing แต่จะดูเป็นลำดับกัน มีความต่อเนื่องมากกว่า